หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

งานของ Data Mining (Task of data mining)


งานของ Data Mining (Task of data mining)

ในทางปฏิบัติจริง
 Data Mining จะประสบความสําเร็จกับงานบางกลุ่มเท่านั้น และต้องอยู่ภายใต้ภาวะที่จํากัดปัญหาเหมาะสมกับการใช้เทคนิคData Miningจะเป็นปัญหาที่ต้องใช้เหตุผลในการแก้ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์และการเงิน ซึ่งจะสามารถจัดรูปแบบของธุรกิจให้อยู่ในรูปแบบของงานทั้ง 6 งานได้ ดังนี้
1. การจัดหมวดหมู่ (Classification)
2. การประเมินค่า (Estimation)
3. การทํานายล่วงหน้า (Prediction)
4. การจัดกลุ่มโดยอาศัยความใกล้ชิด (Affinity Group)
5. การรวมตัว (Clustering)
6. การบรรยาย (Description)
ไม่มีเทคนิคหรือเครื่องมือเพียงชนิดเดียวของData Miningที่เหมาะสมกับงานทุกชนิด งานในแต่ละชนิดก็จะมีเทคนิคของData Miningที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของงาน
1.การจัดหมวดหมู่
การจัดหมวดหมู่ถือว่าเป็นงานธรรมดาทั่วไปของ
 Data Mining เพราะการทําความเข้าใจและการติดต่อสื่อสารต่างๆ ก็เกี่ยวข้องกับการแบ่งเป็นหมวดหมู่การจัดแยกประเภทและการแบ่งแยกชนิดโดยการจัดหมวดหมู่ประกอบด้วยการสํารวจจุดเด่นของวัตถุที่ปรากฏออกมา และทําการกําหนด จุดเด่นนั้นๆ เป็นตัวที่ใช้แบ่งหมวดหมู่ งานในการแบ่งหมวดหมู่คือการบ?งบอกลักษณะ โดยการอธิบายจุดเด่นที่เป็นที่รู้จักดีในหมวดหมู่นั้น และเทรนนิ่งเซต (TrAI (Artificial Intelligence) ning Set) ของตัวอย่างในแต่ละหมวดหมู่ ซึ่งมีภาระหน้าที่ในการสร้างโมเดลของบางชนิดที่ไม่สามารถจะจัดหมวดหมู่ของข้อมูลได้ ให้สามารถจัดเป็น หมวดหมู่ได้ ตัวอย่างของการจัดหมวดหมู่ เช่น การจัดหมวดหมู่ของผู้ยื่นขอเครดิต (Credits) เป็นระดับต่ำระดับกลาง และระดับสูง ของความเสี่ยงที่จะได้รับ เป็นต้น  
2. การประเมินค่า
การประเมินค่าทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประโยชน์กับธุรกิจ การป้อนข้อมูล
ที่เรามีอยู่เข้าไป เพื่อใช้ในการประเมินสิ่งต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ หรือสําหรับตัวแปรที่เราไม่รู้ค่า แน่นอนเช่น รายได้จากการค่า จุดสูงสุดทางธุรกิจ หรือดุลยภาพของบัตรเครดิต ในทางปฏิบัติการประเมิน ค่าจะถูกใช้ในการทํางานการจัดหมวดหมู่ ตัวอย่างของการประเมินค่าเช่น การประเมินรายได้รวมของ ครอบครัว หรือการประเมินจํานวนบุตรในครอบครัว
 
3.
 การทํานายล่วงหน้า
การทํานายล่วงหน้าก็เป็นงานที่มีลักษณะคล้ายกับการจัดหมวดหมู่หรือการประเมินค่า ยกเว้น เพียงแต่จะใช้สถิติการบันทึกของการจัดหมวดหมู่ในการทํานายอนาคตของพฤติกรรมหรือการประเมิน ค่าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่างของงานการทํานายล่วงหน้า เช่น การทํานายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของตลาด หรือการทํานายจํานวนลูกค่าที่จะออกจากธุรกิจของเราใน
 6 เดือนข้างหน้า เป็นต้น

 4. การจัดกลุ่มโดยอาศัยความใกล้ชิดกัน หรือการวิเคราะห์ของตลาด
งานในการจัดกลุ่มหรือการวิเคราะห์ตลาด คือการตัดสินใจรวมสิ่งที่สามารถไปด้วยกันเข้าไว้ในกลุ่มเดียวกันตัวอย่างของการจัดกลุ่มโดยอาศัยความใกล้ชิดกันหรือการวิเคราะห์ตลาด เช่น การตัดสินใจว่าสิ่งใดบ้างที่จะไปอยู่ด้วยกันอย่างสม่ำเสมอในรถเข็นในซุปเปอร์มาร์เกต
5.
 การรวมตัว
การรวมตัวคืองานที่ทําการรวมส่วนต่างๆ ในแต่ละส่วนที่ต่างชนิดกันให้อยู่ในรวมกันเป็นกลุ่มย่อย หรือคลัสเตอร์
 (Clusters) โดยในแต่ละคลัสเตอร์อาจจะประกอบด้วยส่วนต่างๆที่ต่างชนิดกัน ซึ่งความแตกต่างของการรวมตัวจากการจัดหมวดหมู่คือ การรวมตัวจะไม่พึ่งพาอาศัยการกําหนดหมวดหมู่ล่วงหน้า และไม่ใช้ตัวอย่าง ข้อมูลจะรวมตัวกันบนพื้นฐานของความคล้ายในตัวเอง
  6.
 การบรรยาย
ในบางครั้งวัตถุประสงค์ของData Mining
 คือต้องการอธิบายความสับสนของฐานข้อมูลในทางที่จะเพิ่มความเข้าใจในส่วนของประชากร ผลิตภัณฑ์ หรือขบวนการให้มากขึ้น
เทคนิคData Miningส่วนใหญ่ต้องการเทรนนิ่งข้อมูลจํานวนมากที่ประกอบด้วยหลายๆ ตัวอย่างเพื่อจะสร้างกฎที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่ กฎของความสัมพันธ์ คลัสเตอร์ การทํานายล่วงหน้า ดังนั้นชุดของข้อมูลขนาดเล็กจะนําไปสู่ความไม่น่าไว้วางใจของผลสรุปทีได้ ไม่มีเทคนิคใดเลยที่จะสามารถแก้ปัญหาของData Miningได้ทุกปัญหา ดังนั้นความหลากหลายของเทคนิคจึงเป็นสิ่งที่จําเป็นในการไปสู่วิธีการแก้ปัญหาของData Miningได้ดีที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น